บทที่ 9 การสร้างข้อความ การปรับรูปทรงภาพ และการใช้พาเล็ต PATHFINDER

                 



                         



                ปัจจุบันงานด้านต่างๆ  ได้นำข้อความกราฟิกมาช่วยเพิ่มสีสันในการสื่อสารข้อมูลให้น่าสนใจยิ่งขึ้น  โปรแกรม  Adobe  Illustrator 10  ได้เตรียมเครื่องมือไว้ใช้สร้างข้อความไว้เป็นจำนวนมากและสามารถปรับรูปแบบให้สวยงามได้ง่าย
Ø การสร้างข้อความด้วยเครื่องมือกลุ่ม  Type
การใช้เครื่องมือ Type  ในการสร้างข้อความ
เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างตัวอักษรในแนวนอนซึ่งขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่เครื่องมือ Type Tool  จากนั้นคลิกเมาส์ด้านซ้ายบริเวณที่ต้องการพิมพ์ข้อความ  จากนั้นพิมพ์ข้อความที่ต้องการ
                2. คลิกที่เมนู  Window -> Type -> Character  เพื่อแสดงพาเล็ต  Character
                3. ปรับเปลี่ยนรูปแบบตามต้องการ
การใช้เครื่องมือ  Area Type
เป็นเครื่องที่ใช้สร้างตัวอีกษรในพื้นที่ที่กำหนดหรือในวัตถุที่สร้างขึ้นซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1. สร้างวัตถุที่ต้องการพิมพ์ข้อความ
                2. คลิกที่เครื่องมือ  Area Type Tool  จากนั้นคลิกเมาส์ด้านซ้ายบริเวณภายในวัตถุที่ต้องการพิมพ์ข้อความ  จากนั้นพิมพ์ข้อความที่ต้องการ
การใช้เครื่องมือ  Path Type
เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างตัวอักษรแนวนอนตามเส้น  Pen  ที่สร้างขึ้นด้วยเครื่อ
มือ  Pen  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.สร้างเส้น Path  ที่ต้องการพิมพ์ข้อความด้วยเครื่องมือ  Pen
2. คลิกที่เครื่องมือ  Path Type Tool  จากนั้นคลิกเมาส์ด้านซ้ายบนเส้น  Path  ที่ต้องการพิมพ์ข้อความ  จากนั้นพิมพ์ข้อความที่ต้องการ
การใช้เครื่องมือ  Vertical Type
เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างตัวอักษรในแนวตั้งซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่เครื่องมือ Vertical Type Tool  จากนั้นคลิกที่เมาส์ด้านซ้ายบริเวณที่ต้องการพิมพ์ข้อความ  จากนั้นพิม์ข้องความที่ต้องการ
การใช้เครื่องมือ  Vertical Area Type
เป็นเครื่องมือที่ใช่สร้างตัวอักษรในพื้นที่ที่กำหนดหรือในวัตถุที่สร้างขึ้นในแนวตั้งซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. สร้างวัตถุที่ต้องการพิมพ์ข้อความ
2. คลลิกที่เครื่องมือ  Vertical Area Type Tool  จากนั้นคลิกเมาส์ด้านซ้ายบริเวณภายในวัตถุที่ต้องการพิมพ์ข้อความ  จากนั้นพิมพ์ข้อความที่ต้องการ
การใช้เครื่องมือ  Vertical Path Type
เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างตัวอักษรแนวตั้งตามเส้น  Path  ที่สร้างขึ้นด้วยเครื่องมือ  Pen ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. สร้างเส้น Path  ที่ต้องการพิมพ์ข้อความด้วยเครื่องมือ Pen
2. คลิกที่เครื่องมือ Vertical Path Type Tool  จากนั้นคลิกเมาส์ด้ายซ้ายบนเส้นPath  ที่ต้องการพิมพ์ข้อความ  จากนั้นพิมพ์ข้อความที่ต้องการ
Ø การสร้างข้อความแบบหลายบรรทัดและการจัดการข้อความ
การสร้างข้อความแบบหลายบรรทัด
                1. คลิกที่เครื่องมือ  Type Tool  จากนั้นคลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้ตรงจุดเริ่มต้นที่ต้องการพิมพ์ข้อความจากนั้นลากเมาส์ไปยังตำแหน่งสิ้นสุดของขอบเขตที่ต้องการพิมพ์ข้อความ
                2. พิมพ์ข้อความที่ต้องการ  โดยให้พิมพ์ไปเรื่อยๆ  เมื่อถึงขอบสิ้นสุดจะตัดขึ้นบรรทัดใหม่ให้อัตโนมัติ  แต่ถ้าต้องการขึ้นย่อหน้าใหม่ให้กด Enter
การจัดข้อความ
                1. คลิกเลือกข้อความที่ต้องการปรับเปลี่ยน
                2. คลิกที่เมนู Window -> Type ->  Paragraph  เพื่อแสดงพาเล็ต  Paragraph
                3. สังเกตข้อความที่เปลี่ยนแปลงตามที่ปรับเปลี่ยน
Ø การปรับรูปทรง
1. คลิกที่เครื่องมือ Selection  จากนั้นคลิกที่วัตถุที่ต้องการ
2. ถ้าต้องการย่อ/ขยายให้คลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้ที่มุมใดๆ  ของวัตถุ  จากนั้นลากไปมาเพื่อย่อ/ขยาย
3. ถ้าต้องการหมุนวัตถุให้คลิกที่เครื่องมือ Rotate  จากนั้นคลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว่ที่บริเวณรูปแบบแล้วปรับหมุนตามต้องการ
การปรับรูปทรงภาพด้วยคำสั่ง  Scale
        คำสั่ง Scale   เป็นการปรับรูปทรงภาพให้อยู่ในลักษณะแนวตั้งหรือแนวนอน  หรือแนวทแยง  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
        1. คลิกที่เลือกวัตถุที่ต้องการปรับรูปทรง
        2. คลิกที่เมนู Object -> Transform -> Scale  จะปรากฏหน้าต่าง Scale
        3. คลิกที่ปุ่ม OK สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของวัตถุ
Ø การใช้พาเล็ต Align  และพาเล็ต  Pathfinder
การใช้พาเล็ต Align
                พาเล็ต Align  เป็นพาเล็ตที่ใช้จัดตำแหน่งของวัตถุตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1. คลิกที่เมนู Window -> Align  เพื่อแสดงพาเล็ต Align
                2. คลิกเลือกวัตถุที่ต้องการจัดตำแหน่ง
                3. ทดสอบจัดตำแหน่งโดยคลิกที่ Horizontal Align Center  เพื่อจัดให้วัตถุอยู่ตำแหน่งกึ่งกลางแนวนอนในตัวเลือก Align Object
                4. ทกสอบจัดตำแหน่งโดยคลิกที่ Vertical Distribute Center  เพื่อจัดให้วัตถุอยู่ตำแหน่งกึ่งกลางแนวตั้งในตัวเลือก Distribute Object
การใช้พาเล็ต  Pathfinder
                พาเล็ต  Pathfinder  เป็นพาเล็ตที่ใช้จัดการลักษณะของวัตถุที่เรียงซ้อนกัน  ซึ่งมีลักษณะการทำงานอยู่ ส่วนคือ  Shape Modes  และ  Pathfinders  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                การทำงานในส่วนของ  Shape Modes
                1. คลิกที่เมนู Window -> Pathfinder  เพื่อแสดงพาเล็ต  Pathfinder
                2. คลิกเลือกวัตถุทั้งหมด
                3. คลิกที่เครื่องมือ Add to Shape area  เป้นการรวมวัตถุที่เรียงซ้อนกันเข้าด้วยกันโดยสีจะเปลี่ยนเป็นไปตามสีที่เลือกไว้
                4. สรร้างวัตถุเพิ่มตามต้องการ
                5. คลิกเลือกวัตถุทั้งหมด
                6. คลิกที่เครื่องมือ  Subtract from shape area  เพื่อตัดส่วนที่วัตถุทับกันออกโดยวัตถุที่ถูกต้องตัดจะยังคงสีเดิม
                7. สร้างวัตถุที่ต้องการ
                8. คลิกเลือกวัตถุทั้งหมด
                9. คลิกที่เครื่องมือ  Interaect shape area  เพื่อตัดพื้นที่วัตถุส่วนที่ไม่ทับกันออกโดยวัตถุที่ได้สีจะเปลี่ยนเป็นสีที่เลือกไว้
                10. นำภาพมาวางรวมกันเพื่อสร้างชิ้นงานตามต้องการ
                11. สร้างวัตถุที่ต้องการจากนั้นคลิกเลือกวัตถุทั้งหมด
                12. คลิกที่เครื่องมือ Exclude overlapping shape area  เพื่อตัดพื้นที่วัตถุส่วนที่ทับกันออกโดยวัตถุที่ได้สีจะเปลี่ยนตามสีวัตถุที่อยู่ด้านหน้า
                13. คลิกที่เครื่องมือ Expand  เพื่อรวมวัตถุให้เป็นชิ้นเดียวกัน
                14. ทดสอบตกแต่งชิ้นงานโดยคลิกที่เมนู Filter -> Stylize -> Drop Shadow  เพื่อสร้างเงาให้วัตถุ
                15. จะปรากหน้าต่างการทำงานของ Drop Shadow  ให้คลิกที่ปุ่ม OK  จะได้ผลลัพธ์
การทำงานในส่วนของ  Pathfinders
                เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับวัตถุที่เรียงซ้อนดันเช่นกันกับเครื่องมือในกลุ่มของ Shape Mode  แต่เมื่อตัดหรือรวมวัตถุแล้วจะเปลี่ยนวัตถุให้รวมกันเป็นรูปเดียวทันที  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                การใช้เครื่องมือ  Divide
                1. สร้างวัตถุที่ต้องการ
                2. คลิกเลือกวัตถุทั้งหมด
                3. คลิกที่เครื่องมือ Divide  เพื่อตัดวัตถุที่ทับกันออกเป็นส่วนๆ 
                4. คลิกที่เครื่องมือ Direct Selection  จากนั้นคลิกที่บริเวณวัตถุที่ต้องการคลิกเลือกสีที่ต้องการเปลี่ยนหรือกดปุ่ม  Delete  ที่คีย์บอร์ดเพื่อลบวัตถุส่วนที่ไม่ต้องการ
                การใช้เครื่องมือ  Trim
                1. สร้างวัตถุที่ต้องการ
                2. คลิกเลือกวัตถุทั้งหมด
                3. คลิกที่เครื่องมือ Trim  เพื่อตัดวัตถุที่ทับกันออกโดยวัตถุด้านหลังยังคงเดิม
                4. คลิกที่เครื่องมือ  Direct Selection  จากนั้นคลิกที่วัตถุด้านบนแล้วลากออกจะสังเกตเห็นวัตถุถูดตัดส่วนที่ทับกันออกไป  ปรังแต่งวัตถุตามต้องการ
                การใช้เครื่องมือ  Merge
                1. สร้างวัตถุที่ต้องการ
                2. คลิกเลือกวัตถุทั้งหมด
                3. คลิกที่เครื่องมือ  Merge  เพื่อรวมวัตถุที่มีสีเหมือนกันเข้าด้วยกันและตัดวัตถุออกจากกันเมื่อสีต่างกัน
                4. คลิกที่เครื่องมือ  Direct Selection  จากนั้นคลิกที่วัตถุแล้วลากออก  สังเกตความเปลี่ยนแปลงของวัตถุ
                การใช้เครื่องมือ Crop
                1. สร้างวัตถุที่ต้องการ
                2. คลิกเลือกวัตถุทั้งหมด
                3. คลิกที่เครื่องมือ Crop  เพื่อตัดวัตถุส่วนที่ไม่ทับกันออกและคงสีของวัตถุด้านล่างหรือส่วนที่ตัดออกไว้
                การใช้เครื่อมือ  Outline
                1. สร้างวัตถุที่ต้องการ
                2. คลิกเลือกที่วัตถุทั้งหมด
                3. คลิกที่เครื่องมือ  Outline  เพื่อปรับวัตถุให้แสดงเฉพาะเส้นโดยลบสีพื้นออก
                4. คลิกปรับขนาดของเส้นที่พาเล็ต  Stroke  ตามขนาดที่ต้องการ
                การใช้เครื่องมือ Minus Back
                1. สร้างวัตถุที่ต้องการ
                2. คลิกเลือกวัตถุทั้งหมด
                3. คลิกที่เครื่องมือ  Minus Back  เพื่อตัดวัตถุด้านหน้าออกโดยใช้วัตถุด้านหลังในการตัด  จากนั้นตกแต่งตามต้องการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

         ยินดีต้อนรับเข้าสู้สื่อการเรียนการสอนโปรแกรมกราฟฟิก                    วิชา โปรแกรมกราฟิก ( 2204-2105 ) จัดทำขึ้นเพื่อใช้สำหรับการเ...